简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ตำรวจ CIB รวบสาวใหญ่เจ้าของบัญชีรับโอนเงิน 6.2 พันล้าน จากแก๊งโรแมนซ์สแกม
ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการปราบปราม (บก.ป.) ร่วมกันจับกุม น.ส.อรทัยฯ ในความผิดฐาน “อั้งยี่, ซ่องโจร, มีส่วนรวมในองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติ, ร่วมกันฉ้อโกงโดยแสดงเป็นบุคคลอื่น, ร่วมกันฟอกเงิน”
สถานที่จับกุม บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ ม.3 ต.คลองหลา อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณปี 2560 ผู้ต้องหาได้เดินทางไปทำงานที่ร้านนวดในประเทศมาเลเซีย และได้พบรักกับหนุ่มผิวสี ชาวไนจีเรียผ่านการแนะนำของเพื่อนที่ทำงานด้วยกัน จากนั้นแฟนหนุ่มชาวไนจีเรียได้รับผู้ต้องหามาอยู่ด้วยกันและได้ดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายทุกอย่าง โดยที่ผู้ต้องหาไม่ต้องทำงาน ซึ่งระหว่างอยู่ด้วยกัน ผู้ต้องหาทราบว่า แฟนหนุ่มสนใจจะเปิดบริษัทในประเทศไทย
หลังจากอยู่ด้วยกันเกือบ 2 ปี แฟนหนุ่มชาวไนจีเรีย ได้ชักชวนให้ผู้ต้องหาเปิดบัญชีให้ เพื่อทำธุรกรรมทางการเงินโดยให้เหตุผลว่า ตนเองเป็นชาวต่างชาติไม่สามารถทำธุรกรรมทางการเงินในประเทศไทยได้ โดยจะได้รับค่าตอบแทนในการเปิดบัญชี บัญชีละ 6,500 บาท ซึ่งผู้ต้องหาก็ได้ทำการเปิดบัญชีไว้หลายบัญชี จากนั้นมอบบัญชีให้แฟนหนุ่มชาวไนจีเรียเป็นผู้ดำเนินการ ฝาก-ถอน ทั้งหมด ซึ่งจากการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจ พบว่าบัญชีธนาคารที่ผู้ต้องหาได้เปิดให้กับแฟนชาวไนจีเรีย เป็นบัญชีธนาคารที่มีเส้นทางการเงินเกี่ยวข้องกับบริษัทที่มีการรับโอนเงินเกี่ยวข้องกับคดีของนางสาวชมานันทน์ฯ กับพวกร่วมกันลักทรัพย์เอาเงินของบริษัทอื่น โดยที่มีการลักลอบโอนเงินจากบัญชีเงินฝากของบริษัทดังกล่าวจำนวนหลายครั้ง ทำให้บริษัทดังกล่าว ได้รับความเสียหายเป็นเงิน 6,223,872,674.31 บาท จนนำไปสู่การออกหมายจับผู้ต้องหา
ต่อมา เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1 บก.ป. ได้ทำการสืบสวนจนทราบว่า ผู้ต้องหาได้หลบหนีไปทำงานอยู่ที่ประเทศมาเลเซียและทราบว่า ผู้ต้องหาจะเดินทางกลับประเทศไทยเพื่อเยี่ยมลูก ซึ่งเดินทางจากประเทศมาเลเซีย มายังท่าอากาศยานหาดใหญ่ เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้วางแผนจับกุมและได้ประสานให้เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองด่าน ตม.ทอ.หาดใหญ่ เฝ้าสังเกตุการณ์บริเวณห้องผู้โดยสารขาเข้าระหว่างประเทศ ต่อมา เจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองด่าน ตม.ทอ.หาดใหญ่ ได้พบผู้ต้องหา จึงขอดูหนังสือเดินทาง พบว่าเป็นผู้ต้องหาจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้แสดงตัวและแสดงหมายจับให้ผู้ต้องหาทราบ ผู้ต้องหายอมรับว่า เป็นบุคคลตามหมายจับจริง เจ้าหน้าที่ตำรวจจึงได้ทำการจับกุมตัวผู้ต้องหาและนำส่งพนักงานสอบสวน กก.1 บก.ป. เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป
ผลการปฏิบัติภายใต้การอำนวยการ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก., พล.ต.ต.วิทยา ศรีประเสริฐภาพ ผบก.ปคบ.รรท.ผบก.ป., พ.ต.อ.มนูญ แก้วก่ำ ผกก.1 บก.ป. สั่งการให้ พ.ต.ต.เอกรัฐ จันทร์มณี สว.กก.1 บก.ป. พร้อมด้วยข้าราชการตำรวจ กก.1 บก.ป. ดำเนินการ
ขอบคุณข้อมูลจาก ตำรวจสอบสวนกลาง (CIB)
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย :https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
บทความนี้พาผู้อ่านไปสำรวจความน่าเชื่อถือของโบรกเกอร์ ETO Markets ซึ่งแม้จะเริ่มเป็นที่พูดถึงในกลุ่มนักลงทุน แต่กลับมีเสียงสะท้อนด้านลบหลายประเด็น เช่น การใช้งานเว็บไซต์ที่ซับซ้อน ระบบฝาก–ถอนที่ล่าช้า ขาดการสนับสนุนภาษาไทย และค่าบริการที่สูงเมื่อเทียบกับคู่แข่ง บทความจึงเน้นย้ำให้นักลงทุนตรวจสอบข้อมูลอย่างละเอียดก่อนตัดสินใจ เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากการเลือกใช้โบรกเกอร์ที่ยังไม่มีความมั่นคงเพียงพอ.
แอดเหยี่ยวขอแจ้งเตือน! ช่วงนี้มิจฉาชีพออนไลน์ระบาดหนัก โดยใช้วิธีเปิดเพจปลอมหลอกขายสินค้า พวกเขาจะส่งโค้ดส่วนลดและคิวอาร์โค้ดให้เหยื่อ โจร AB หลอกให้โอนเงินแทนบุคคลอื่น แอดเหยี่ยวขอเตือนว่าให้ระมัดระวัง และชำระเงินผ่านระบบของแพลตฟอร์มเท่านั้น หากไม่มั่นใจ อย่าหลงเชื่อและหยุดคิดก่อนโอนเงิน!