简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหยื่อช็อก! หลอกลงทุนเงินดิจิทัล สูญเงินกว่า 26 ล้าน
ตำรวจไซเบอร์จับขบวนการสุ่มทักเฟซบุ๊กเนียนตีสนิท หลอกลงทุนเงินดิจิทัล เหยื่อแทบช็อกสูญไป 26 ล้าน
สืบเนื่องจาก เมื่อประมาณเดือน พ.ย.66 คนร้ายได้สุ่มทักเฟซบุ๊กส่วนตัวของผู้เสียหาย ชวนคุยตีสนิท แล้วชักชวนให้ลงทุน โดยอ้างว่าเป็นแพลตฟอร์มการลงทุนของ ATFX ซี่งผู้เสียหายทราบมาก่อนแล้วว่าเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง แต่ก็ไม่เคยลงทุนมาก่อน จึงได้หลงเชื่อและได้ทดลองโอนเงิน ครั้งแรกสามารถเบิกถอนเงินและมีกำไร จึงเชื่อว่าเป็นการลงทุนจริง ๆ จากนั้นได้ทยอยโอนเงินลงทุนไปเรื่อย ๆ จนเห็นว่าเป็นจำนวนมากเพียงพอและผลการลงทุนมีกำไรมากแล้ว จึงขอถอนเงินต้นและผลกำไร แต่ทางคนร้ายแจ้งว่าต้องจ่ายภาษี จ่ายค่าธรรมเนียม โดยต้องโอนเงินเข้าบัญชีก่อน จึงจะสามารถเบิกถอนได้ ผู้เสียหายหลงเชื่อและได้โอนเงินให้ตามที่คนร้ายบอก ก็ยังไม่สามารถเบิกถอนเงินได้อีก
ผู้เสียหายรู้สึกว่าผิดสังเกต จึงได้ติดต่อไปที่แพลตฟอร์ม ATFX (จริง) ให้ช่วยตรวจสอบ และได้รับแจ้งว่าแพลตฟอร์มดังกล่าวนั้นเป็นของปลอม จึงเชื่อว่าถูกหลอกลวงให้ลงทุน มูลค่าความเสียหายรวมเป็นเงินกว่า 26 ล้านบาท จึงเข้าแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเพื่อให้สืบสวนสอบสวนนำตัวคนร้ายมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
พล.ต.ท.วรวัฒน์ วัฒน์นครบัญชา ผู้บัญชาการตำรวจสืบสวนสอบสวนอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ผบช.สอท. สั่งการให้ พล.ต.ต.จิตติพนธ์ ผลพฤกษา ผบก.สอท.4 และเจ้าหน้าที่ตำรวจในสังกัด ดำเนินการสืบสวนและขยายผล เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมาย
ต่อมาวันที่ 20 ม.ค.67 พ.ต.อ.คมสัน มีภักดี ผกก.4 บก.สอท.4 สั่งการให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.สอท.4 ดำเนินการจับกุม น.ส.อาทิตติยา (สงวนนามสกุล) อายุ 25 ปี ตามหมายจับของศาลจังหวัดเชียงใหม่ ในความผิดฐาน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน หรือเป็นผู้สนับสนุนให้บุคคลอื่นกระทำความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงประชาชนโดยแสดงตนเป็นบุคคลอื่น ร่วมกันนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมโดยประการที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
ขอบคุณข้อมูลตำรวจไซเบอร์
กลโกงของคนร้ายมักมีการแอบอ้างว่าเป็นโบรกเกอร์ ก่อนการลงทุนต้องตรวจสอบให้ดีก่อน ว่าเป็นโบรกเกอร์ที่มีอยู่จริงหรือไม่ หรือเป็นโบรกเกอร์ที่ถูกแอบอ้าง เมื่อเหยื่อหลงเชื่อมักจะถูกหลอกให้ลงทุกเรื่อย ๆ โดยช่วงแรกมักได้กำไรจริง และสามารถถอนได้ พอผ่านไปสักพัก หากเหยื่อต้องการถอนเงิน จะไม่สามารถถอนได้ และมีข้ออ้างต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่าภาษี ค่าธรรมเนียม โดยต้องโอนเข้าไปเพิ่มก่อน จึงจะสามารถถอนได้ แล้วเมื่อเหยื่อหลงเชื่อก็สายไปแล้วเพราะว่าเหยื่อจะไม่สามารถถอนเงินออกมาได้แล้ว
การลงทุนมีความเสี่ยง ก่อนจะลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีเสียก่อน ตรวจสอบให้ดี อย่าหลงเชื่อเรื่องราวต่าง ๆ โดยง่าย จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรีคลิกเลย! https://www.wikifx.com/th/download.html
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
GVD Markets ออกคำเตือนด่วนถึงนักเทรดทั่วโลก หลังพบเว็บไซต์ปลอมในอินโดนีเซียแอบอ้างชื่อและโลโก้ของบริษัท เพื่อหลอกลวงให้ผู้ใช้ฝากเงิน ก่อนยึดทรัพย์สินโดยผิดกฎหมาย เหตุการณ์นี้ส่งผลกระทบต่อทั้งนักลงทุนรายย่อยและสถาบันการเงิน GVD Markets จึงร่วมกับ WikiFX เร่งตรวจสอบ พร้อมแนะนำให้นักเทรดตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์ผ่านแพลตฟอร์มที่เชื่อถือได้ และรายงานกิจกรรมต้องสงสัยทันที เพื่อป้องกันการตกเป็นเหยื่อของการฉ้อโกงออนไลน์ในอนาคต
Michael Bamber เทรดเดอร์สายกองทุน แชร์ 5 หลักการเร่งเส้นทางสู่ความสำเร็จในตลาด Forex โดยไม่ต้องลองผิดลองถูกนานปี เน้นวินัย ระบบความเสี่ยงที่ชัดเจน คุมขาดทุนรายวัน มีกลยุทธ์สำรอง และควบคุม Drawdown จุดสำคัญคือ “อยู่รอด” ไม่ใช่แค่ “ได้เยอะ” – เพราะตลาดมีทุกวัน แต่พอร์ตพังได้แค่ครั้งเดียว.
บทความนี้พาผู้อ่านไปรู้จักกับ “ดาร์กเว็บ” พื้นที่ลับของอินเทอร์เน็ตที่มักใช้ในการซื้อขายข้อมูลผิดกฎหมาย เช่น บัญชีการเงิน ข้อมูลบัตรเครดิต และซอฟต์แวร์แฮกระบบ ซึ่งกลายเป็นภัยคุกคามสำคัญต่อความปลอดภัยของนักเทรด โดยเฉพาะในยุคที่การลงทุนเชื่อมโยงกับโลกออนไลน์อย่างแน่นแฟ้น บทความยังแนะนำวิธีป้องกันตัวเอง 5 ข้อ เช่น ใช้ 2FA และตั้งรหัสผ่านอย่างรัดกุม เพื่อป้องกันไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวหลุดไปยังพื้นที่อันตรายเหล่านี้ พร้อมย้ำว่า “การรู้เท่าทัน” คือเกราะป้องกันชั้นแรกของนักลงทุนยุคดิจิทัล.
วงการคริปโตในไทยอาจได้รับผลกระทบครั้งใหญ่ หลัง Binance มีแนวโน้มจะถอด “เงินบาท” ออกจากระบบซื้อขายแบบ P2P ซึ่งเกิดขึ้นภายหลัง ก.ล.ต. ไทยออกมาตรการควบคุมธุรกรรมคริปโตอย่างเข้มงวด เพื่อต่อสู้กับบัญชีม้าและการฟอกเงิน โดย Binance ยังไม่ระบุวันชัดเจน แต่ความเปลี่ยนแปลงนี้อาจส่งผลต่อพฤติกรรมนักลงทุนและภาพรวมตลาดคริปโตในประเทศ.